วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์  2558

ครั้งที่  6  เวลาเรียน  08.30 - 12.20  น.




ความรู้ที่ได้รับ


การเรียนในวันนี้ต้นชั่วโมงอาจารย์ให้ทำกิจกรรม ''รถไฟแห่งชีวิต'' เป็นการตอบคำถามที่ตอบจริงๆตามความรู้ของเราห้ามแสดงความคิดเห็นที่ไม่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมลงไป





คำถาม



ตอบ  ไม่รอ ไปเล่นเครื่องอื่นก่อนแล้วค่อยกลับมาดูใหม่





ตอบ  รู้สึกเหมือนหยุดหายใจ แต่ไม่นานเพราะหลับตา




ตอบ  i ช.



ตอบ  เอ้า!! ทำอายนะ





ภาพวาดเส้นทางของรถไฟ





เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ เรื่อง ''การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ''

ทักษะทางสังคม


- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีผลมาจากพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆที่ดี
- การส่งเสริมพฤติกรรมต้องส่งเสริมจากตัวเด็กเอง
 
**ทักษะทางสังคม ทักษะทางภาษา และทักษะด้านการช่วยเหลือตนเอง สำคัญมากกับเด็กพิเศษ

กิจกรรมการเล่น


- การเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่จะมองเป็นสิ่งที่แปลก 

ยุทธศาสตร์การสอน


- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าเล่นอย่างไร ต้องพยายามผลักดันเพื่อนเข้าไปเล่นด้วย เพราะเด็กจะเลียนแบบจากต้นแบบ เรียนแบบเพื่อนที่อยู่ข้างๆ
- ครูต้องมีการจดบันทึกเด็กตลอดเวลา และทำแผน IEP ถ้าไม่มีการจำบันทึกจะไม่สามารถทำแผนได้เพราะ แผน IEP เป็นแผนที่ละเอียด

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง


- วางแผนกิจกรรมไว้หลายๆอย่าง มุมการเล่นเยอะๆ
- คำนึงถึงเด็กทุกคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน เช่น เด็กพิเศษ 1 คน เด็กปกติ 3 คน ควรเป็นเด็กที่เก่ง เพราะจะได้เป็นแบบอย่างให้แก่เด็กได้ และดูแลกันได้ ทำหน้าที่เหมือนเป็นครูให้กับ เด็กพิเศษ
- ครูมีหน้าที่ให้แรงเสริม โดยการชมตั้งแต่เริ่มทำ เช่น ยิ้ม ชม ยืนใกล้ๆเด็ก
- ครูควรให้เด็กทำกิจกรรมให้เสร็จก่อนจึงจะพูดคุยกับเด็ก เพราะถ้าพูดคุยก่อนจะทำให้ความคิดที่เด็กจะสร้างสรรค์ผลงานเปลี่ยนไปเป็นความคิดของครูแทน

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น


- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองเด็กอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชย หรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเด็กที่เป็นแรงเสริม
- อุปกรณ์ที่จัดให้แก่เด็กต้องน้อยกว่าจำนวนเด็กเสมอ เพราะเด็จะได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน การมีน้ำใจ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น


- ครูพูกชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
- ให้เพื่อนๆมาชวนเด็กไปเล่นด้วย
- ครูพาเด็กไปเล่นกับกลุ่มเพื่อน โดยครูจะจัดหาอุปกรณ์ของเล่นไปด้วยเพื่อ เพื่อนที่จะเล่นด้วยได้สนใจและยอมรับให้เพื่อนได้เล่นด้วย

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์


- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
- ให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้องเรียน
-ครูไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
- ให้เด็กได้เรียนรู้การรอคอย
- เด็กทุกคนมีสถานะภาพที่เท่าเทียมกันหมดในห้องเรียน เรียนรวม


กิจกรรมต่อไปกิจกรรมร้องเพลง


อาจารย์เตรียมเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยมาให้ฝึกร้อง จำนวน 5 เพลง เป็นเพลงที่มีจังหวะสนุกสนาน และผ่อนคลาย 




กิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษด้วยเพลง ( ขีดเส้นเติมจุดตามเพลง )


  กิจกรรมนี้อาจารย์จะให้จับคู่กับเพื่อน แล้วให้ไปเลือกสีที่ตนเองชอบคนล่ะ 1 สี จากนั้นให้ตกลงกับเพื่อนว่าใครจะเป็นคนขีดเส้น ใครจะเป็นคนเติมจุด **ข้อตกลง มีอยู่ว่าคนที่ขีดเส้น เมื่อเริ่มขีดแล้วห้ามยกมือขึ้นเด็ดขาด ให้ลากเส้นไปตามเพลงเลื่อยๆโดยมีจุดตัดเป็นวงกลม และให้เพื่อนที่เขียนจุดเติมจุดลงไปในวงกลมที่เพื่อนวาด ทำไปจนกว่าเพลงจะจบ เมื่อเพลงจบให้หยุดวาดทันที




อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม


ภาพขีดเส้น และเติมจุด ตามเพลงจนจบ


        หลังจากที่ขีดเส้นและเติมจุดตามเพลงอาจารย์ให้เรามองภาพจาดที่เราวาดหลังจากนั้นสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดเป็นภาพตามจินตนาการของเรา

ชื่อภาพ ''ช้างน้อย''



ผลงานของเพื่อนๆ




หลังจากทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยอาจารย์ก็ให้ ตอบคำถามในห้องเรียน และให้การบ้าน คือ กลับไปฝึกร้องเพลงที่สอนไปวันนี้ทั้ง 5 เพลงให้ได้ครบทุกเพลง



การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์


การเรียนในวันนี้ทำให้ได้รับความรู้ในเรื่องของทักษะทางสังคม และทักษะที่สำคัญ สำหรับเด็กพิเศษ ซึ่งทำให้เข้าใจเกี่ยวกับความต้องการทางด้านต่างๆของเด็กพิเศษ และสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กพิเศษได้จริง ทำให้เราเข้าใจถึงความต้องการต่างๆและสิ่งที่เด็กแสดงออกมา คนทั่วไปส่วนใหญ่จะมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรง แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่เพราะนั้นเป็นพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาตามความรู้สึกจริง ซึ่งเด็กยังปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ เราจะจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีให้แก่เด็กให้ได้  นอกจากนี้ยังสามรถนำความรู้ที่ได้รับไปบอกแต่แก่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเป็นเด็กพิเศษได้อีกด้วย เพราะผู้ปกครองส่วนจะมีความรู้น้อยมากในเรื่องนี้เราจึงควรให้ความรู้แก่ผู้ปกครองให้คิดบวกและสนับสนุนส่งเสริมเด็กให้ดูแลตนเอง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


ประเมินตนเอง : วันนี้มาเรียนตรงเวลา การเรียนวันนี้อาจารย์มีเนื้อหาการเรียนที่ไม่มาก เข้าใจง่ายไม่สบสน อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำเป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ ยังไม่เคยทำที่ไหนมาก่อน วันนี้หนูคุยน้อย แต่โวยวายมากไปหน่อย^^ ขอโทษน๊าค่ะ...แต่ก็ตั้งใจทำงานจนเสร็จนะค่ะ :) บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน มีความสุขมว๊ากกกกค่ะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนส่วนใหญ่มาเรียนกันตรงเวลา สนใจในกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำ และตั้งใจทำ เพื่อนทุกคนช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์นำเข้าสู่บทเรียนได้น่าสนใจ และก็สนุกสนาน ส่วนเนื้อหาการเรียนในวันนี้ไม่มากเข้าใจง่าย อาจารย์ยกตัวอย่างชัดเจนทุกหัวข้อ นอกจากนี้มีกิจกรรมให้ทำทำให้ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นสมารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต เป็นสิ่งที่ดีมาก และสุดท้ายนะค่ะวันนี้อาจารย์แต่งชุดน่ารักมาก ( น่าอาจารย์เด็กไปอ่ะ หนู อิจ จัง^^)   



วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่5

บันทึกอนุทิน

วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อ.ตฤณ  แจ่มถิน

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์  2558

ครั้งที่  5  เวลาเรียน  08.30 - 12.20  น.



ความรู้ที่ได้รับ


      ในวันนี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนดดยการ ให้นักศึกษาวาดรูปมือตนเอง โดยที่วาดรูปมือข้างที่ไม่ถนัด และใส่ถุงมือคลุมไว้ไม่ให้เห็นมือตนเอง ให้วาดการนึกมือตนเองที่อยู่ด้วยกันมา 20 ปี วาดให้เหมือนจริงมากที่สุด 



ถุงมือที่ใช้ใส่สำหรับปิดมือตนเอง

ภาพมือที่วาดออกมาโดยไม่ดูแบบมือตนเอง

การวาดภาพมือ เปรียบกับเด็ก ----> คนเป็นครูได้อยู่กับเด็กทุกวัน ครูส่วนใหญ่จะมันใจว่าจำพฤติกรรมของเด็กได้ แต่ความเป็นจริงแล้วเราจำไม่ได้ทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับมือเรา เราอยู่กับมือเราทุกวันทุกเวลา มานานกว่า 20 ปี เรายังจำไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นการจดบันทึกพฤติกรรมเด็กพิเศษ ควรบันทึก เก็บข้อมูลตลอดเวลา เพื่อไม่ให้พฤติกรรมเด็กคลาดเคลื่อน

ครูส่วนใหญ่ที่ไม่จดบันทึกเด็กตลอดเวลาจะทำพฤติกรรม 
1.มโนไปเอง  
2.ใส่ความรู้สึกตนเอง 
3.ปรึกษาคนรอบข้าง

ซึ่งข้อมูลที่ได้รับในลักษณะนี้จะไม่เป็นจริงสำหรับเด็กพิเศษ ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องจดบันทึกพฤติกรรมเด็กพิเศษเป็นตอนๆสม่ำเสมอ เป็นระบบ และเป็นประจำ


การสอนเด็กพิเศษ และ เด็กปกติ

ทักษะของครู
1.ต้องมองเด็กให้เป็นเด็ก
2.เด็กเหมือนกันมากกว่าต่างกัน
3.ต้องจำชื่อเด็กให้ได้ทุกคน
4.บันทึกพฤติกรรมเด็กและมองเด็กให้ออก
5.วุฒิภาวะเด็กแต่ละคนใกล้เคียงกัน
6.เด็กแต่ละคนมีเเรงจูงใจที่ต่างกัน
7.เด็กแต่ละคนเมื่อมาเรียนในห้องเรียนเราต้องมีโอกาสเท่าเทียมกัน
8.ห้องเรียน เรียนรวมมีขีดจำกัดน้อยที่สุด


การสอนโดยบังเอิญ 
    เด็กพิเศษจะชอบการสอนโดยบังเอิญมาก เพราะได้เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรม และการเรียนรู้โดยบังเอิญอาจเกิดจากเด็กเข้าหาครูก่อนเนื่องจากมีปัญหาที่ตนเองแก้ไขในการทำกิจกรรมต่างๆไม่ได้ ซึ่งครูจะต้องสนใจเด็ก แต่จะใช้เวลาในการช่วยเด็กไม่นาน เพราะจะทำให้เด็กคนอื่นน้อยใจ


อุปกรณ์
  สื่อที่ดีต้องไม่แบ่งแยกเพศเด็ก และไม่มีการเล่นที่ตายตัว เช่น บล็อก


ตารางประจำวัน
   เด็กพิเศษไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงบ่อย กิจกรรมของเด็กจะต้องเรียงลำดับชัดเจนและเด็กสามารถคาดเดาได้ทุกครั้ง เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกมั่นใจตัวเองในการทำกิจกรรมทุกครั้ง

ทัศนคติของครู
  1.ต้องยืดหยุ่นให้เป็น เช่น ยืดหยุ่นแผนการสอน 
  2.ต้องยอมนฃรับความสามารถของเด็กแต่ละคน
  3.ครูต้องแก้ไขปัญหาเด็กที่เกิดขึ้นตามจุดประสงค์ที่ตนเองตั้งไว้ได้ ก็คือ การตอบสนองต่อเป้าหมายสูงที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้
1.เด็กทุกคนสามารถสอนได้ แต่ที่เด็กเรียนรู้ไม่ได้เพราะขาดโอกาส ทุกคนมีศักยภาพของตนเองอยู่ในตัว
2.เทคนิคการให้แรงเสริม คือ การส่งเสริมให้เด็กเกิดพฤติกรรมนั้นบ่อยๆ เด็กพิเศษชอบให้ครูชม
3.วิธีแสดงออกถึงแรงเสริม คือ การชม การใกล้ชิดเด็ก การยิ้ม การสัมผัสกาย รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือ และร่วมกิจกรรมกับเด็ก

หลักในการเสริมแรงเด็กปฐมวัย
1.ให้ทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ดี แต่ไม่เยอะเกินไป
2.ชมแต่เฉพาะพฤติกรรมที่เราตั้งวัตถุประสงค์ไว้

การแนะนำหรือการบอกบท
   สำคัญมาในกลุ่มเด็กพิเศษ เช่น การย่อยงาน การลำดับความยากง่ายของงาน

การกำหนดเวลา --->   ไม่มากจนเกินไป

ความต่อเนื่อง 

1.สอนพฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน
2.สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาข้างหลัง

***ในเด็กพิเศษการสอนแบบย้อนมาข้างหลังจะได้ผลดีที่สุด เพราะเด็กจะรู้สึกมั่นใจตนเองว่าตนเองทำได้

การลด หรือหยุดแรงเสริม
1.เอาของเล่นออกจากตัวเด็ก
2.เอาเด็กออกจากกิจกรรม (ชอบใช้มากที่สุด)



       ท้ายชั่วโมงอาจารย์สอนให้ร้องเพลงเด็ก 5 เพลง ให้กลับไปฝึกร้องเป็นการบ้านในครั้งต่อไป และให้ตอบคำถามท้ายคาบ





การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

        ในการเรียนวันนี้ความรู้ที่ได้รับทั้งหมดในเรื่องของเด็กพิเศษต่างๆ หลักการต่างๆที่เกี่ยวกับเด็กพิเศษ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงในอนาคตได้เป็นอย่างดี เมื่อเราต้องไปอยู่ในโรงเรียนร่วมกับเด็กพิเศษทำให้เราเข้าใจในความต้องการของเด็กพิเศษได้ รวมถึงเราสามารถพัฒนาพฤติกรรมต่างๆที่บกพร่องของเด็กพิเศษให้ดีขึ้นได้ นอกจากนี้เรายังสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปบอกต่อแก่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเป็นเด็กพิเศษให้มีความรู้ และสามารถเลี้ยงดูเด็กพิเศษให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ประเมินตนเอง : วันนี้เข้าเรียนก่อนเวลา ได้ดาวเด็กดี 1 ดวง วันนี้ตั้งใจเรียนคุยน้อยพูดน้อย เพราะไม่สบายค่ะ แต่ก็ทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์จัดให้อย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยตั้งใจฟังอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียนอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนก่อนเวลา แต่งกายเรียบร้อยน่ารัก ตั้งใจสอนและยกตัวอย่าง ได้เป็นอย่างดี มีเทคนิคและคำต่างๆให้นักศึกษาไปปรับใช้