บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
ในวันนี้อาจารย์เริ่มการเรียนการสอนดดยการ ให้นักศึกษาวาดรูปมือตนเอง โดยที่วาดรูปมือข้างที่ไม่ถนัด และใส่ถุงมือคลุมไว้ไม่ให้เห็นมือตนเอง ให้วาดการนึกมือตนเองที่อยู่ด้วยกันมา 20 ปี วาดให้เหมือนจริงมากที่สุด
ถุงมือที่ใช้ใส่สำหรับปิดมือตนเอง
ภาพมือที่วาดออกมาโดยไม่ดูแบบมือตนเอง
การวาดภาพมือ เปรียบกับเด็ก ----> คนเป็นครูได้อยู่กับเด็กทุกวัน ครูส่วนใหญ่จะมันใจว่าจำพฤติกรรมของเด็กได้ แต่ความเป็นจริงแล้วเราจำไม่ได้ทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับมือเรา เราอยู่กับมือเราทุกวันทุกเวลา มานานกว่า 20 ปี เรายังจำไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นการจดบันทึกพฤติกรรมเด็กพิเศษ ควรบันทึก เก็บข้อมูลตลอดเวลา เพื่อไม่ให้พฤติกรรมเด็กคลาดเคลื่อน
ครูส่วนใหญ่ที่ไม่จดบันทึกเด็กตลอดเวลาจะทำพฤติกรรม
1.มโนไปเอง
2.ใส่ความรู้สึกตนเอง
3.ปรึกษาคนรอบข้าง
ซึ่งข้อมูลที่ได้รับในลักษณะนี้จะไม่เป็นจริงสำหรับเด็กพิเศษ ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องจดบันทึกพฤติกรรมเด็กพิเศษเป็นตอนๆสม่ำเสมอ เป็นระบบ และเป็นประจำ
การสอนเด็กพิเศษ และ เด็กปกติ
ทักษะของครู
1.ต้องมองเด็กให้เป็นเด็ก
2.เด็กเหมือนกันมากกว่าต่างกัน
3.ต้องจำชื่อเด็กให้ได้ทุกคน
4.บันทึกพฤติกรรมเด็กและมองเด็กให้ออก
5.วุฒิภาวะเด็กแต่ละคนใกล้เคียงกัน
6.เด็กแต่ละคนมีเเรงจูงใจที่ต่างกัน
7.เด็กแต่ละคนเมื่อมาเรียนในห้องเรียนเราต้องมีโอกาสเท่าเทียมกัน
8.ห้องเรียน เรียนรวมมีขีดจำกัดน้อยที่สุด
การสอนโดยบังเอิญ
เด็กพิเศษจะชอบการสอนโดยบังเอิญมาก เพราะได้เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรม และการเรียนรู้โดยบังเอิญอาจเกิดจากเด็กเข้าหาครูก่อนเนื่องจากมีปัญหาที่ตนเองแก้ไขในการทำกิจกรรมต่างๆไม่ได้ ซึ่งครูจะต้องสนใจเด็ก แต่จะใช้เวลาในการช่วยเด็กไม่นาน เพราะจะทำให้เด็กคนอื่นน้อยใจ
อุปกรณ์
สื่อที่ดีต้องไม่แบ่งแยกเพศเด็ก และไม่มีการเล่นที่ตายตัว เช่น บล็อก
ตารางประจำวัน
เด็กพิเศษไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงบ่อย กิจกรรมของเด็กจะต้องเรียงลำดับชัดเจนและเด็กสามารถคาดเดาได้ทุกครั้ง เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกมั่นใจตัวเองในการทำกิจกรรมทุกครั้ง
ทัศนคติของครู
1.ต้องยืดหยุ่นให้เป็น เช่น ยืดหยุ่นแผนการสอน
2.ต้องยอมนฃรับความสามารถของเด็กแต่ละคน
3.ครูต้องแก้ไขปัญหาเด็กที่เกิดขึ้นตามจุดประสงค์ที่ตนเองตั้งไว้ได้ ก็คือ การตอบสนองต่อเป้าหมายสูงที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้
1.เด็กทุกคนสามารถสอนได้ แต่ที่เด็กเรียนรู้ไม่ได้เพราะขาดโอกาส ทุกคนมีศักยภาพของตนเองอยู่ในตัว
2.เทคนิคการให้แรงเสริม คือ การส่งเสริมให้เด็กเกิดพฤติกรรมนั้นบ่อยๆ เด็กพิเศษชอบให้ครูชม
3.วิธีแสดงออกถึงแรงเสริม คือ การชม การใกล้ชิดเด็ก การยิ้ม การสัมผัสกาย รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือ และร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักในการเสริมแรงเด็กปฐมวัย
1.ให้ทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ดี แต่ไม่เยอะเกินไป
2.ชมแต่เฉพาะพฤติกรรมที่เราตั้งวัตถุประสงค์ไว้
การแนะนำหรือการบอกบท
สำคัญมาในกลุ่มเด็กพิเศษ เช่น การย่อยงาน การลำดับความยากง่ายของงาน
การกำหนดเวลา ---> ไม่มากจนเกินไป
ความต่อเนื่อง
1.สอนพฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน
2.สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาข้างหลัง
***ในเด็กพิเศษการสอนแบบย้อนมาข้างหลังจะได้ผลดีที่สุด เพราะเด็กจะรู้สึกมั่นใจตนเองว่าตนเองทำได้
การลด หรือหยุดแรงเสริม
1.เอาของเล่นออกจากตัวเด็ก
2.เอาเด็กออกจากกิจกรรม (ชอบใช้มากที่สุด)
ท้ายชั่วโมงอาจารย์สอนให้ร้องเพลงเด็ก 5 เพลง ให้กลับไปฝึกร้องเป็นการบ้านในครั้งต่อไป และให้ตอบคำถามท้ายคาบ
การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ในการเรียนวันนี้ความรู้ที่ได้รับทั้งหมดในเรื่องของเด็กพิเศษต่างๆ หลักการต่างๆที่เกี่ยวกับเด็กพิเศษ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงในอนาคตได้เป็นอย่างดี เมื่อเราต้องไปอยู่ในโรงเรียนร่วมกับเด็กพิเศษทำให้เราเข้าใจในความต้องการของเด็กพิเศษได้ รวมถึงเราสามารถพัฒนาพฤติกรรมต่างๆที่บกพร่องของเด็กพิเศษให้ดีขึ้นได้ นอกจากนี้เรายังสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปบอกต่อแก่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเป็นเด็กพิเศษให้มีความรู้ และสามารถเลี้ยงดูเด็กพิเศษให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ประเมินตนเอง : วันนี้เข้าเรียนก่อนเวลา ได้ดาวเด็กดี 1 ดวง วันนี้ตั้งใจเรียนคุยน้อยพูดน้อย เพราะไม่สบายค่ะ แต่ก็ทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์จัดให้อย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยตั้งใจฟังอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียนอย่างเต็มที่
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนก่อนเวลา แต่งกายเรียบร้อยน่ารัก ตั้งใจสอนและยกตัวอย่าง ได้เป็นอย่างดี มีเทคนิคและคำต่างๆให้นักศึกษาไปปรับใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น